สัตว์เลี้ยง

6 อันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตั้งท้องนานที่สุดในโลก

6 อันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตั้งท้องนานที่สุดในโลก การขยายพันธุ์เป็นไปตามธรรมชาติ แม่ของมนุษย์ตั้งครรภ์ได้ 9 เดือน แต่คุณสงสัยหรือไม่ว่าสัตว์อื่นก็ท้องด้วย? คอลเลกชันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตั้งครรภ์นานที่สุด 10 อันดับแรก มาเฉลิมฉลองวันแม่กันเถอะ การตั้งครรภ์คือการเกิดชีวิตใหม่ มันคือแก่นแท้ของชีวิตผู้หญิงและเป็นปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นบนโลก นี่เป็นเรื่องปกติสำหรับสายพันธุ์ต่างๆ มันจะขยายตัวเพื่อรักษาการดำรงอยู่บนโลก นอกจากความยากลำบากในการตั้งครรภ์เก้าเดือนของคุณแม่แล้ว เมื่อทารกเกิดมา พวกเขาจะลืมความยากลำบากในการตั้งครรภ์ไป มีแม่หลายคนในโลกที่มีการตั้งท้องที่แตกต่างกัน ทั้งแม่ สัตว์ สัตว์ใหญ่ และสัตว์เล็ก การตั้งครรภ์มีหลายระยะ แต่เรามาดูสัตว์ 10 อันดับแรกที่ตั้งท้องนานที่สุดและอยู่ได้นานแค่ไหนกัน การจัดอันดับนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาและเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายแหล่ง และตามความเข้าใจของผู้เขียนเอง หากไม่ตรงกับบางเว็บไซต์ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ และขอให้ท่านพิจารณาด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูลิงค์ที่แนบมาด้านล่าง

 

ช้างแอฟริกา

ช้างแอฟริกา อันดับ 1 ช้าง (Elephant)

ช้างแอฟริกา ช้างถือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่พวกมันจะมีระยะตั้งครรภ์ที่ยาวนานที่สุด โดยปกติแล้วช้างแอฟริกาจะตั้งท้องโดยเฉลี่ย 22 เดือน ในขณะที่ช้างเอเชียจะมีอายุครรภ์ประมาณ 18-22 เดือน และตั้งท้องได้เพียงตัวเดียวต่อ 1 ครรภ์เท่านั้น

ปัจจุบันช้างมีความเสี่ยงทางสายพันธุ์เนื่องจากยังคงมีการล่าเพื่อเอางาอยู่ ดังนั้น จำนวนประชากรช้างจึงเริ่มน้อยลงจนอาจส่งผลต่อการขยายพันธุ์

สิงโตทะเลออสเตรเลีย

สิงโตทะเลออสเตรเลีย อันดับ 2 สิงโตทะเลออสเตรเลีย (Sea Lion Australia)

สิงโตทะเลออสเตรเลีย สิงโตทะเลเป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ เนื่องจากประชากรลดลง จากการถูกล่าเพื่อเอาหนัง นอกจากนี้ยังถูกยิงเพื่อนำไปเป็นเหยื่อฉลามด้วยในช่วงปี 1960-1970

หากเรานับการตั้งครรภ์ของสิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย ซึ่งจะตั้งครรภ์นาน 350 วัน แต่หากไปค้นคว้าดูดีๆแล้ว จะพบว่า การตั้งครรภ์ของสิงโตทะเลออสเตรเลียจะยาวนานรองจากวาฬหัวทุยเลย โดยสิงโตทะเลออสเตรเลียจะตั้งครรภ์นาน 17.6-18 เดือน และตัวเมียจะผสมพันธุ์อีกครั้งภายใน 7-10 วันหลังคลอด

แรดขาว

แรดขาว อันดับ 3 แรด (Rhinoceros)

แรดขาว แรดเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีความยาวได้ถึง 3.6-5เมตร สูงได้ถึง 2 เมตร แรดมีอยู่ 5 ชนิดบนโลกได้แก่ แรดขาว แรดดำ แรดอินเดีย แรดชวา และกระซู่หรือแรดสุมาตรา

แรดตัวเมียจะโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุครบ 4-5 ปี แต่จะยังไม่มีลูกจนกระทั่งมันอายุครบ 6-7 ปีโดยประมาณ ส่วนตัวผู้จะพร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุ 10-12 ปี แรดตั้งท้องยาวนาน 15-16 เดือนหรือประมาณ 419-478 วัน เป็นสัตว์บกที่ตั้งท้องนานรองจากช้าง ลูกแรดจะเริ่มหย่านมได้ก็เมื่ออายุ 2 เดือนโดยประมาณ

 

วาฬหัวทุย หรือ วาฬสเปิร์ม

วาฬหัวทุย หรือ วาฬสเปิร์มอันดับ 4 วาฬหัวทุย (Sperm Whale)

วาฬหัวทุย หรือวาฬสเปิร์ม เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน สามารถพบได้ในน่านน้ำไทยด้วย เคยมีรายงานพบวาฬใน 3 จังหวัดคือ พังงา ภูเก็ต และสตูล นอกจากนี้ยังถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย วาฬตัวเมียจะถึงวัยผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุครบ 9 ปี หลังจากนี้การเจริญเติบโตจะช้าลง วาฬหัวทุยจะผลิตลูกวาฬประมาณทุก ๆ 5-7 ปี และใช้เวลตั้งท้องประมาณ 14-16 เดือน หลังคลอดลูกวาฬจะสามารถกินอาหารทั่วไปได้ก่อนอายุ 1 ขวบ แต่ยังไงพวกมันก็ยังต้องกินนมแม่ต่อไปอีกหลายปี

ยีราฟ จากประเทศเคนยา

ยีราฟ จากประเทศเคนยาอันดับ 5 ยีราฟ (Giraffe)

ยีราฟ สัตว์ลักษณะเด่นที่ลำคอยาว ยีราฟผสมพันธุ์กันได้ทุกช่วงเวลาของปีไม่เหมือนกับสัตว์อื่นๆที่ต้องมีฤดูผสมพันธุ์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมันจะพร้อมในฤดูฝน เพื่อให้ลูกคลอดออกมาในช่วงที่อากาศแห้ง ยีราฟตั้งท้องเป็นระยะเวลาประมาณ 14-15 เดือน หรือ 453-464 วัน ยีราฟมักให้กำเนิดลูกครั้งละตัวเท่านั้น

 

อูฐ

อูฐอันดับ 6 อูฐ (Camel)

อูฐ มีระยะเวลาในการตั้งท้อง 13-15 เดือนหรือประมาณ 360-420 วันโดยเฉลี่ย แต่อูฐก็เป็นสัตว์ที่เรียกได้ว่าผสมพันธุ์ติดยากมาก โอกาสผสมพันธุ์อยู่ที่ 50% เลยทีเดียว และเสริมเป็นเกร็ดความรู้เล็กน้อยสำหรับสัตว์ตัวนี้ หลายคนมีความเชื่อผิด ๆ ว่า โหนกอูฐบนหลังของมันมีไว้เก็บกักน้ำใช่ไหม แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เลย ข้อมูลจาก 8 Fascinating Facts About Camels บอกว่า โหนกตรงนี้ไว้ใช้เก็บไขมันต่างหาก ไขมันตรงนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำและพลังงานเมื่อมันเริ่มขาดแคลนทรัพยากร นอกจากนี้ไขมันตรงนี้ไม่ได้ถูกหุ้มด้วยไขมันที่เป็นฉนวน ดังนั้นมันจึงสามารถรักษาความเย็นในร่างกายในสภาพอากาศที่ร้อนจัดอย่างทะเลทรายได้